วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

HI

Chat

หาเพื่อนคุยmsn online จาก http://www.siam55.com/radio

การรับรู้ความงามทางศิลปะ



               
          สำหรับการรับรู้ความงามทางศิลปะของมนุษย์นั้น สามารถรับรู้ได้ 2 ทาง คือ
 
  ทางสายตาจากการมองเห็น และทางหูจากการได้ยิน  ซึ่งแบ่งได้ดังนี้

        1 ทัศนศิลป(Visual Art) เป็นงานศิลปะที่รับสัมผัสความงามได้ด้วยสายตา จากการ มองเห็น
  งานศิลปะส่วนใหญ่จะเป็นงานทัศนศิลป์  ทั้งสิ้น ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม
   สถาปัตยกรรม มัณฑณศิลป์ อุตสากรรมศิลป์ พาณิชย์ศิลป์ 

        2 โสตศิลป์ (Audio Art)  เป็นงานศิลปะที่รับสัมผัสความงามได้ด้วยหู จากการฟังเสียง งานศิลปะ
   ที่จัดอยู่ในประเภทโสตศิลป์ ได้แก่  ดนตรี และ วรรณกรรม
       3.โสตทัศฯศิลป(Audiovisual Art) เป็นงานศิลปะที่รับสัมผัสความงามทางศิลปะได้ทั้งสองทาง
   คือจากการมองเห็นและจากการฟัง งานศิลปะประเภทนี้ได้แก่ ศิลปะการแสดงนาฏศิลป์
   การละคร การภาพยนต์

การออกแบบ Design

การออกแบบ  หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงาน ที่ผู้อื่น

สามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้  เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน
        ความสำคัญของการออกแบบ มีอยู่หลายประการ กล่าวคือ
1.ในแง่ของการวางแผนการการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตาม
   ขั้นตอน อย่างเหมาะสม และประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวาง
   แผนการทำงานก็ได้
2. ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจ
    ตรงกันอย่างชัดเจน  ดังนั้น ความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจ
    ระหว่างกัน
3. เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมาย
   ซับซ้อน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พบเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้น
   หรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผูออกแบบได้ทั้งหมด
4. แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่ นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิต
    เป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง  นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน
    หรือถ้าจะเปรียบไปแล้ว นักออกแบบก็เหมือนกับคนเขียนบทละครนั่นเอง

แบบ 
เป็นผลงานจากการออกแบบ เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และฝีมือของ

นักออกแบบ แบบมีอยู่หลายลักษณะ ดังนี้ คือ
        1. เป็นภาพวาดลายเส้น (drawing) ภาพระบายสี (Painting) ภาพถ่าย (Pictures)
หรือแบบร่าง (Sketch) แบบที่มีรายละเอียด (Draft) เช่น แบบก่อสร้าง   ภาพพิมพ์
(Printing) ฯลฯ ภาพต่าง ๆ ใช้แสดงรูปลักษณะของงาน หรือแสดงรายละเอียดต่าง ๆ
เกี่ยวกับงาน ที่เป็น 2 มิติ
        2. เป็นแบบจำลอง (Model) หรือของจริง เป็นแบบอีกประเภทหนึ่งที่ใช้แสดง
รายละเอียดของงานได้ชัดเจนกว่าภาพต่าง ๆ เนื่องจากมีลักษณะเป็น 3 มิติ ทำให้
สามารถเข้าใจในผลงานได้ดีกว่า นอกจากนี้ แบบจำลองบางประเภทยังใช้งานได้
เหมือนของจริงอีกด้วยจึงสมารถใช้ในการทดลอง และทดสอบการทำงาน เพื่อหา
ข้อบกพร่องได้
ประเภทของการออกแบบ
1. การออกแบบทางสถาปัตยกรรม (Architecture Design) เป็นการออกแบบเพื่อ
การก่อสร้าง สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ นักออกแบบสาขานี้ เรียกว่า สถาปนิก (Architect) ซึ่ง
โดยทั่วไปจะต้องทำงานร่วมกับ วิศวกรและมัณฑนากร โดยสถาปนิก รับผิดชอบเกี่ยว
กับประโยชน์ใช้สอยและความงามของสิ่งก่อสร้าง งานทางสถาปัยตกรรมได้แก่
- สถาปัตยกรรมทั่วไป เป็นการออกแบบสิ่งก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร บ้านเรือน ร้านค้า  โบสถ์  วิหาร  ฯลฯ
- สถาปัตยกรรมโครงสร้าง เป็นการออกแบบเฉพาะโครงสร้างหลักของอาคาร
- สถาปัตยกรรมภายใน  เป็นการออกแบบที่ต่อเนื่องจากงานโครงสร้าง ที่เป็นส่วนประกอบของอาคาร
- งานออกแบบภูมิทัศน์ เป็นการออกแบบที่มีบริเวณกว้างขวาง  เป็นการจัดบริเวณพื้นที่ต่าง ๆ
   เพื่อให้เหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงาม
- งานออกแบบผังเมือง เป็นการออกแบบที่มีขนาดใหญ่ และมีองค์ประกอบซับซ้อน ซึ่งประกอบ
   ไปด้วยกลุ่มอาคารจำนวนมาก ระบบภูมิทัศน์ ระบบสาธารณูปโภค ฯลฯ
2. การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์
ชนิดต่าง ๆงานออกแบบสาขานี้ มีขอบเขตกว้างขวางมากที่สุด และแบ่งออกได้มากมาย
หลาย ๆ ลักษณะ นักออกแบบรับผิดชอบเกี่ยวกับประโยชน์ใช้สอยและความสวยงามของ
ผลิตภัณฑ์  งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
- งานออกแบบเฟอร์นิเจอร์
- งานออกแบบครุภัณฑ์
- งานออกแบบเครื่องสุขภัณฑ์
- งานออกแบบเครื่องใช้สอยต่างๆ
- งานออกแบบเครื่องประดับ  อัญมณี
- งานออกแบบเครื่องแต่งกาย
- งานออกแบบภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์
- งานออกแบบผลิตเครื่องมือต่าง ๆ   ฯลฯ
3. การออกแบบทางวิศวกรรม (Engineering Design) เป็นการออกแบบเพื่อการผลิต
ผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่นเดียวกับการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน ต้องใช้
ความรู้ความสามารถและเทคโนโลยีในการผลิตสูง ผู้ออกแบบคือ วิศวกร ซึ่งจะรับผิดชอบ
ในเรื่องของประโยชน์ใช้สอย ความปลอดภัยและ กรรมวิธีในการผลิต  บางอย่างต้องทำงาน
ร่วมกันกับนักออกแบบสาขาต่าง ๆ ด้วย งานอกแบบประเภทนี้ได้แก่
- งานออกแบบเครื่องใช้ไฟฟ้า
- งานออกแบบเครื่องยนต์
- งานออกแบบเครื่องจักรกล
- งานออกแบบเครื่องมือสื่อสาร
- งานออกแบบอุปกณ์อิเลคทรอนิคส์ต่าง ๆ   ฯลฯ


4. การออกแบบตกแต่ง (Decorative Design) เป็นการออกแบบเพื่อการตกแต่งสิ่งต่าง ๆ
ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น นักออกแบบเรียนว่า มัณฑนากร

(Decorator) ซึ่งมักทำงานร่วมกับสถาปนิก งานออกแบบประเภทนี้ได้แก่
- งานตกแต่งภายใน (Interior Design)
- งานตกแต่งภายนอก  (Exterior Design)
- งานจัดสวนและบริเวณ ( Landscape Design)
- งานตกแต่งมุมแสดงสินค้า (Display)
- การจัดนิทรรศการ (Exhibition)
- การจัดบอร์ด
- การตกแต่งบนผิวหน้าของสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น  ฯลฯ

5. การออกแบบสิ่งพิมพ(Graphic Design) เป็นการออกแบบเพื่อทางผลิตงานสิ่งพิมพ์

ชนิดต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ  หนังสือพิมพ์  โปสเตอร์  นามบัตร  บัตรต่าง ๆ  งานพิมพ์ลวดลายผ้า
งานพิมพ์ภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ  งานออกแบบรูปสัญลักษณ์   เครื่องหมายการค้า  ฯลฯ

พาณิชย์ศิลป์ Commercial Art

เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อสนับสนุนกิจการค้า และการบริการ เพื่อให้ประสบผลสำเร็จตามจุดมุ่งหมาย
ได้แก่  การออกแบบเครื่องหมายการค้า การออกแบบสิ่งพิมพ์  การออกแบบโฆษณา  การออกแบบฉลากสินค้า 
การออกแบบจัดแสดงสินค้า  ฯลฯ ผู้สร้างสรรค์งาน เรียนกว่า นักออกแบบ (Designer)

อุตสาหกรรมศิลป์ Industrial Art

เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อการผลิต ผลิตภัณฑ์ (Product)
สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ให้สวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น
ด้วยวิธีการในระบบอุตสาหกรรม ซึ่งมีการทำงานเป็นระบบ      เป็นขั้นตอน 
มีมาตรฐาน   มีการใช้เครื่องจักรกลเข้าช่วย ทำให้ต้นทุนต่ำ   ผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
ได้แก่
  เครื่องยนต์    เครื่องจักรกล    เครื่องใช้ไฟฟ้า     เครื่องอิเลคโทรนิค 
เฟอร์นิเจอร์    สุขภัณฑ์   ครุภัณฑ์    เสื้อผ้า    เครื่องประดับ  เครื่องแต่งกาย
เครื่องอุปโภค บริโภคต่าง ๆ  ตลอดจนถึงภาชนะบรรจุผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ด้วย    
ผู้สร้างสรรค์งาน เรียกว่า นักออกแบบ (Designer)
 

มัณฑนศิลป์ Decorative Art


      
    
เป็นงานศิลปะที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเพื่อการตกแต่ง สิ่งต่าง ๆ ให้เกิดความสวยงามและเหมาะสมกับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น
ได้แก่ การจัดตกแต่งภายในบ้าน อาคาร สถานที่ต่าง ๆ   การตกแต่งภายนอก  การจัดสวน  การจัดนิทรรศการ  การจัดบอร์ด ป้ายนิเทศ
  การจัดแสดงสินค้า  การแต่งกาย  การแต่งหน้า การตกแต่งร้านค้า เป็นต้น  ผู้สร้างสรรค์งาน เรียนว่า  มัณฑนากร
(Decorator)